ผลไม้ของภาคใต้

ผลไม้ประจำภาคใต้

  ผลไม้ประจำภาคใต้



มะขามป้อม (Indian gooseberry) เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และมีคุณค่าทางสมุนไพรด้วย
มะขามป้อมเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือ กันโตด (เขมร – กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม (ทั่วไป) มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)


มังคุด ภาษาอังกฤษ”: mangosteen) ชื่อวิทยาศาสตร์ Gamangostana Linn. มีชื่อเรียกในภาษามลายู ว่ามังกุสตาน (manggustan) ภาษา เรียกมังกีส ภาษาพม่า เรียกมิงกุทธี ภาษาสิงหล เรียกมังกุส เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบ ชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ แพร่กระจายพันธุ์ไปสู่หมู่เกาะอินดีสตะวันตก เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 แล้วจึงไปสู่ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส ปานามาเอกวาดอร์ ไปจนถึงฮาวาย ในประเทศไทยมีการปลูกมังคุดมานานแล้วเช่นกัน เพราะมีกล่าวถึงในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 นอกจากนั้น ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราชยังเคยเป็นที่ตั้งของวังที่มีชื่อว่า “วังสวนมังคุด” ในจดหมายเหตุของราชทูตจากศรีลังกาที่เข้ามาขอพระสงฆ์ไทย ได้กล่าวว่ามังคุดเป็นหนึ่งในผลไม้ที่นำออกมารับรองคณะทูต



ระกำ ชื่อวิทยาศาสตร์: Salacca wallichianaเป็นพืชตระกูลปาล์ม ซึ่งมีต้นหรือเหง้าเตี้ย ยอดแตกเป็นกอ ใบมีลักษณะยาวเป็นทาง ยาวประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นมีหนามแหลมยาวประมาณ 1 นิ้ว ออกผลเป็นทะลาย ทะลายหนึ่งมีตั้งแต่ 2-5 กระปุก เปลือกผลมีหนามแข็งเล็ก ๆ อุ้มไปทางท้ายผล ผลหนึ่ง ๆ มี 2-3 กลีบ เป็นส่วนมากเมื่อดิบมีรสฝาดและเปรี้ยว เมื่อสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยว เนื้ออ่อน บาง กลิ่นหอม ฉ่ำน้ำ ลักษณะใกล้เคียงกับสละ แต่ผลป้อมกว่า เมล็ดใหญ่กว่า สีจางกว่า เนื้อจะออกสีอมส้มมากกว่า
ระกำเป็นพืชที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เจริญเติบโตและให้ผลผลิต ได้ทั่วไปในที่ดอนและชุ่มชื้น ระกำเป็นพืชที่ชอบร่มเงาปกคลุม ดังนั้นชาวสวนจึงนิยม ปลูกพืชขนาดใหญ่อื่น ๆ ให้ร่มเงาแก่ระกำ ระกำจะให้ผลผลิตมากในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ระกำเป็นพืชขึ้นทั่วไป ในพื้นที่ป่าของจังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง ต่อมาได้มีการนำระกำมาปลูกในสวน และปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นพันธุ์ดีขึ้น โดยเฉพาะ จังหวัดตราด เกษตรกรนิยมปลูกระกำกันมาก จนเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่า คือ “ระกำหวานเมืองตราด” ซึ่งจะมีการจัดงานเทศกาลระกำหวานเป็นประจำทุกปี



ลองกอง เป็นลางสาดพันธุ์หนึ่งชนิดที่เปลือกหนาและยางน้อย โดยลางสาดเป็นไม้ต้นชนิด Lansium domesticum Corrêa ในวงศ์ Meliaceae ผลกลม ๆ ออกเป็นพวง กินได้ เม็ดในขม[1]
ลางสาดนั้นเชื่อว่าเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากบริเวณหมู่เกาะมลายู อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และภาคใต้ของไทย มีหลายชื่อ อาทิ ลังสาด, ดูกู โดยชื่อ “ลางสาด” หรือ “ลังสาด” นั้นมาจากภาษามาเลย์ว่า “langsat”, ชื่อ “ดูกู” มาจากภาษาอินโดนีเซียว่า “duku” และชื่อ “ลองกอง” มาจากภาษายาวีว่า “ดอกอง
มะม่วงหิมพานต์, กาหยู, ยาร่วง, เล็ดล่อ, หัวครก
ไม้ร้อยชื่อ ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนตั้งแต่ราก ลำต้น ใบ ผล และเนื้อในเม็ด ผลสุกมีรสหวานหอมแปลก ๆ ที่คนรุ่นเก่าโปรดปราน เนื้อในเม็ดคั่วหรืออบกินอร่อย ให้พลังงาน โปรตีน และแคลเซียมสูงกว่าผลไม้อื่นใด ถ้าอยากชิมผลอย่าไปช้ากว่าเดือนเมษายน

เดือย, มะเดื่อ
ผลเต็ม ๆ ขนาดเท่าส้มเขียวหวาน เมื่อสุกเปลือกจะนิ่มและช้ำง่าย
มะดัน
ไม้ป่าที่นำมาปลูกกันทั่วไปให้ผลตลอดปี จะกินผลดิบหรือดองก็ได้
สรรพคุณ บำรุงโลหิต ขับเสมหะ ระบายอ่อน ๆ

มะกอกป่า
ผลคล้ายมะกอกฝรั่งแต่เล็กกว่า รสฝาด ซ่าลิ้น ส่วนมากกินใบและยอดใช้เหนาะขนมจีน คนอีสานฝานผลใส่ส้มตำ
สรรพคุณ แก้บิด แก้โรคธาตุพิการเพราะน้ำดีไม่ปกติ


มะม่วงเบา
มะม่วงพันธุ์เล็ก วางขายเป็นพวงตามตลาดปักษ์ใต้ พวงละ 10 บาท กินกับน้ำปลาหวานดีที่สุด


กำไร, จำปูไร
หรือมะไฟลิง ผลไม้กลุ่มมะไฟที่รสชาติวิเศษ ยามสุกเปลือกผลสีเหลืองส้มจะแตกออกง่าย ๆ เนื้อสีส้มสวยงาม ถ้าจะหากินไม่ควรเข้าหมู่บ้านล่ากว่ากันยายน


ฝรั่งบ้าน, ฝรั่งขี้นก
หรือ "ย่าหมู" ของคนแถบชุมพร ระนอง เป็นฝรั่งรสอร่อยที่ทุกวันนี้หากินยากเหลือเกิน

เงาะบ้าน
คนปักษ์ใต้กินเงาะสองสามชนิดคือ เงาะโรงเรียนกับเงาะบ้าน เงาะบ้านเป็นเงาะพื้นเมืองที่กระเถิบจากเงาะป่าหรือลูกลวนขึ้นมาหน่อย แต่ก็ยังนับว่ามีเยื่อน้อย ไม่หวานล่อนเหมือนเงาะโรงเรียน ชาวบ้านชอบเพราะรสชาติ "ดิบ ๆ" ราคาถูก สำหรับคุณที่ไม่ใช่ชาวบ้านเสมือนเป็น "ทางเลือก" ของคนที่ไม่ชอบเหมือนใคร

ลางสาดขาว
จากเทือกเขานครศรีธรรมราช รสหวานอมเปรี้ยวแบบที่ชาวบ้านนิยม แม้ไม่อาจเทียบเคียงกับลางสาดลิปะน้อย อำเภอเกาะสมุย ที่ว่ากันว่ารสชาติดีที่สุดก็ตาม ลางสาดขาวราคาต่ำกว่าลองกองถึงสองในสาม
มะเม่า, สัมเม่า
ไม้ขนาดกลาง พบในป่าดิบแล้งทั่วประเทศ นายแพทย์ท่านหนึ่งบอกว่า อาจมีส่วนหยุดยั้งโรคเอดส์ แต่ก็ต้องวิจัยกันต่อไป ผลมะเม่ามีขนาดใหญ่กว่าหัวไม้ขีดเล็กน้อย กินผลสุกสีดำ (ตอนปลายฤดูฝน) แต่ผลดิบสีเขียวรสเปรี้ยวจัด เด็ก ๆ ก็ชอบ

ที่มา 
https://sites.google.com/a/longwittaya.ac.th/phl-mi-meuxng-thiy/phl-mi-praca-phakh/phl-mi-praca-phakh-ti

1 ความคิดเห็น:

  1. super slot ค่ายเกมสล็อตออนไลน์ที่เว็บ PGSLOT ของเรานำมาให้ลูกค้าทุกท่านได้เล่น เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ที่มาพร้อมกับความปลอดภัย และรวดเร็วของแอดมินตลอดทั้งวัน

    ตอบลบ